การศึกษาพื้นฐานในยุค โควิด-19: จะเปิด-ปิดโรงเรียนอย่างไร?

การศึกษาพื้นฐานในยุค โควิด-19: จะเปิด-ปิดโรงเรียนอย่างไร?

การระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ส่งผลต่อระบบการศึกษาเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เชื้อไวรัสเริ่มระบาดในประเทศจีนปลายปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน UNESCO รายงานว่ารัฐบาล 191 ประเทศทั่วโลก ประกาศปิดสถานศึกษาทั้งประเทศ มีผู้เรียนได้รับผลกระทบกว่า 1.5 พันล้านคน (มากกว่าร้อยละ 90 ของผู้เรียนทั้งหมด) สำหรับประเทศไทยสถานการณ์การระบาดเกิดขึ้นในช่วงสถานศึกษาขั้นพื้นฐานปิดภาคเรียน โดยในช่วงต้นเดือนเมษายน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เลื่อนวันเปิดเทอมภาคเรียนที่ 1 ไปเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ไทยจึงมีโอกาสทบทวนบทเรียนจากต่างประเทศเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่สอดรับกับมาตรการป้องกันการระบาด พร้อมกับเตรียมมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เรียนได้รับผลกระทบจากรูปแบบการเรียนที่เปลี่ยนไป
สิ่งแรกที่รัฐต้องตัดสินใจ คือ การเปิด-ปิดโรงเรียน แต่ผลของการปิดโรงเรียนอาจได้ไม่คุ้มเสีย
มาตรการเร่งด่วนที่รัฐบาลหลายประเทศใช้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสคือ มาตรการกึ่งปิดเมือง (Semi-lockdown) และมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) โรงเรียนจึงจำเป็นต้องถูกปิดไปด้วยเพื่อลดช่องทางการแพร่เชื้อไวรัส อย่างไรก็ตามงานวิจัยศึกษาผลของการปิดโรงเรียนในประเทศจีน ฮ่องกง และสิงคโปร์ ประกอบกับบทเรียนในอดีตจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส SARs บ่งชี้ว่า การปิดโรงเรียนอย่างเดียวส่งผลน้อยมากต่อการลดจำนวนของผู้ติดเชื้อ เมื่อเทียบกับมาตรการอื่น
นอกจากนี้ธนาคารโลกยังแสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ปิดโรงเรียนว่า จะส่งผลให้นักเรียนส่วนใหญ่เสียโอกาสในการเรียนรู้ โดยเฉพาะนักเรียนในครอบครัวที่มีฐานะยากจน เนื่องจากไม่มีรายได้มากพอที่จะนำมาใช้สนับสนุนการเรียนของบุตรหลานเพิ่มเติม ที่ร้ายแรงที่สุดการปิดโรงเรียนอาจผลักให้นักเรียนกลุ่มนี้หลุดออกจากระบบการศึกษา ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียต่อชีวิตเด็กในระยะยาว ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นคือการวางแนวทางเปิดโรงเรียนเพื่อให้เด็กได้ไปโรงเรียนอีกครั้ง โดยให้สอดคล้องกับความรุนแรงของสถานการณ์ ควบคู่กับการใช้มาตรการทางด้านสาธารณสุขและมาตรการทางสังคมอย่างเคร่งครัดในโรงเรียน
หากต้องปิดโรงเรียน เรียนทางไกลแก้ปัญหาได้ แต่รัฐควรดูแลเด็กยากจนเป็นพิเศษ
ช่วงการระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 หลายประเทศใช้วิธีการสอนทางไกล ไม่ว่าจะเป็นการสอนออนไลน์ผ่าน Massive Open Online Courseware (MOOC) หรือแอปพลิเคชันที่ช่วยให้ครูสอนในห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หรือใช้การถ่ายทอดการสอนผ่านสัญญาณโทรทัศน์ เพื่อให้เด็กเรียนต่อที่บ้านได้ขณะปิดโรงเรียน แต่การใช้วิธีดังกล่าวทำให้เด็กบางกลุ่มโดยเฉพาะเด็กในครอบครัวที่มีฐานะยากจนเสียเปรียบ เพราะไม่มีอุปกรณ์ดิจิทัลที่บ้าน นอกจากนี้ ในการเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เด็กจำเป็นต้องได้รับการเอาใจใส่ การเรียนที่บ้านจึงเป็นการผลักภาระให้ผู้ปกครอง อาจทำให้เหลื่อมล้ำทางการศึกษาเพิ่มมากขึ้นหากผู้ปกครองไม่มีความพร้อมในการช่วยเหลือบุตรหลานของตนในการเรียน
เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กที่ไม่มีความพร้อมเสียโอกาส รัฐบาลของหลายประเทศได้จัดหาอุปกรณ์การเรียนให้แก่เด็กกลุ่มดังกล่าว เช่น รัฐบาลฮ่องกงให้โรงเรียนสำรวจความพร้อมนักเรียน และจัดหาคอมพิวเตอร์ให้นักเรียนยืมเรียน รัฐนิวยอร์กเตรียม iPad พร้อมอินเทอร์เน็ตให้นักเรียนยืมกว่า 3 แสนเครื่อง และรัฐแคลิฟอร์เนียร่วมมือกับบริษัท Google จัดหา Chromebooks และ Mobile Hotspot ให้นักเรียน รวมทั้งออกคู่มือให้ผู้ปกครองสามารถช่วยเหลือเด็กในการใช้อุปกรณ์
ประเทศไทยยังมีข้อจำกัดในการเรียนทางไกลค่อนข้างสูง ข้อมูลของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) บ่งชี้ว่า สัดส่วนของครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของประเทศพัฒนาแล้ว นอกจากนี้ การสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติยังสะท้อนให้เห็นความเหลื่อมล้ำสูงในการเข้าถึงอุปกรณ์ดิจิทัล โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีฐานะยากจน และครัวเรือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีนักเรียนกว่า 8 หมื่นคน อยู่ในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ดังนั้น รัฐบาลต้องสำรวจความพร้อมของครัวเรือนเด็ก และมีมาตรการที่หลากหลายเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าถึงการเรียนทางไกลของเด็กที่มีสภาพความขาดแคลนแตกต่างกัน
จากบทเรียนข้างต้น รัฐบาลไทยควรมีมาตรการเปิด-ปิดโรงเรียนให้สอดรับกับความรุนแรงของการระบาดของโรค มีความยืดหยุ่นในแต่ละพื้นที่ และใช้มาตรการด้านอื่นควบคู่ในกรณีเปิดโรงเรียน นอกจากนี้ ควรเร่งสำรวจความพร้อมในการเข้าถึงการเรียนทางไกลของเด็ก เพื่อเตรียมอุปกรณ์หรือสื่อการเรียนให้เหมาะสมกับบริบทของครอบครัวเด็กที่แตกต่างกัน โดยดำเนินการ 6 ประการ ดังนี้
ประการที่ 1 กำหนดมาตรการเปิด-ปิดโรงเรียนให้สอดคล้อง และยืดหยุ่นตามความรุนแรงของการระบาดของไวรัส โควิด-19 โดยวางแนวทางให้ พื้นที่ที่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่อย่างต่อเนื่องในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ต้องปิดโรงเรียน และให้เด็กเรียนทางไกลที่บ้านจนสถานการณ์ลดความรุนแรงลงจนสามารถกลับมาเปิดโรงเรียนได้
ในกรณีพื้นที่ที่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ประปราย หรือไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ให้พิจารณาเปิดโรงเรียนได้ภายใต้ข้อจำกัดความพร้อมของห้องเรียน และความพร้อมในการเรียนทางไกลของเด็ก ทั้งนี้ควรกำหนดให้แนวทางการเปิด-ปิดโรงเรียนยืดหยุ่นตามสถานการณ์ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ทั้งในกรณีที่สถานการณ์ระบาดรุนแรงขึ้น และสถานการณ์ผ่อนคลายลง
ประการที่ 2 ปรับปรุงห้องเรียนให้เป็น “ห้องเรียนปลอดภัย ห่างไกล โควิด-19” โดยกำหนดแนวทางให้โรงเรียนทุกแห่งสำรวจความพร้อมของห้องเรียน โดยกระทรวงศึกษาธิการ ควรประสานงานกับหน่วยงานที่เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยากำหนดลักษณะของห้องเรียนที่เหมาะสม เช่น จัดระยะห่างระหว่างนักเรียนอย่างน้อย 1 เมตร และมีอากาศหมุนเวียนอย่างน้อย 10 เท่าของปริมาณอากาศในห้องเรียน เป็นต้น เพื่อให้โรงเรียนทุกแห่งประเมินความพร้อมด้านกายภายของตน ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการควรสื่อสารอย่างชัดเจน โดยกำหนดแนวทางที่อิงกับแบบแปลนอาคารเรียนมาตรฐาน หรือในกรณีที่โรงเรียนไม่ได้ใช้แบบแปลนมาตรฐาน ควรแจ้งให้โรงเรียนทราบถึงมาตรฐานของการระบายอากาศอย่างชัดเจน
ประการที่ 3 สำรวจความพร้อมการเรียนทางไกลของเด็ก เพื่อประเมินความเสี่ยง กระทรวงศึกษาธิการ หรือหน่วยงานต้นสังกัดโรงเรียน ควรประสานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลพื้นฐานครัวเรือนนักเรียนมาบูรณาการร่วมกันเพื่อจัดกลุ่มตามระดับความเสี่ยงในการเข้าถึงการเรียนทางไกล โดยแบ่งเด็กเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีความพร้อม ได้แก่ เด็กมีอุปกรณ์ดิจิทัลพร้อมอินเทอร์เน็ตที่บ้าน กลุ่มที่มีความเสี่ยง ได้แก่ เด็กที่ไม่มีอุปกรณ์ดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตที่บ้าน แต่เข้าถึงไฟฟ้าได้ และกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ เด็กที่ไม่มีอุปกรณ์ดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตที่บ้าน และไม่มีไฟฟ้าใช้ ทั้งนี้ ควรใช้ข้อมูลเพื่อประเมินความพร้อมของผู้ปกครองด้วย เช่น เป็นเด็กอยู่กับพ่อแม่หรือไม่ เพื่อวางแผนให้การสนับสนุนเพิ่มเติมแก่ครอบครัวที่ผู้ปกครองไม่พร้อมสนับสนุนบุตรหลานในกรณีที่ต้องเรียนที่บ้าน
ในกรณีพื้นที่ที่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ประปราย และพื้นที่ที่ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา โรงเรียนควรเปิดการเรียนการสอนตามปกติ หากมีห้องเรียนพร้อมรองรับนักเรียนทุกคน โดยยังสามารถรักษาระยะห่างได้ ส่วนโรงเรียนที่ไม่สามารถจัดชั้นเรียนตามมาตรฐานรักษาระยะห่างที่ปลอดภัยได้ ควรใช้วิธีการสอนในโรงเรียนตามปกติผสมกับการสอนทางไกล เช่น โรงเรียนประถมศึกษาหรือขยายโอกาส ให้นักเรียนอนุบาลหรือในช่วงชั้นที่ 1 (ป.1 ถึง ป.3) มาเรียนที่โรงเรียนตามปกติ แต่ให้นักเรียนระดับ ป.4 ขึ้นไปเรียนที่บ้าน ส่วนโรงเรียนมัธยม ครูอาจประเมินนักเรียนตามผลการเรียน (เช่น คะแนนสอบ หรือพฤติกรรม เป็นต้น) แล้วให้เด็กที่จำเป็นต้องดูแลใกล้ชิดมาเรียนตามปกติ นอกจากนั้นให้เรียนที่บ้าน เป็นต้น
ประการที่ 4 จัดเตรียมอุปกรณ์ให้แก่นักเรียนที่มีความเสี่ยงที่จะเสียโอกาสจากการเรียนทางไกล ในกรณีโรงเรียนต้องปิดเพราะพื้นที่มีการระบาดรุนแรง หรือโรงเรียนที่ไม่สามารถจัดชั้นเรียนในห้องเรียนแก่เด็กทุกคนได้ กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานต้นสังกัดควรจัดเตรียมอุปกรณ์ รวมทั้งสื่อการเรียนการสอนแก่เด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น จัดเตรียมแท็บเล็ต (Tablet) พร้อมเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ให้ยืมเรียน แก่เด็กที่ขาดแคลนอุปกรณ์ที่บ้าน แต่สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้ เพื่อให้เด็กสามารถเรียนออนไลน์ได้ และจัดเตรียม “สื่อแห้ง” ในรูปชุดสื่อการเรียนรู้ (Learning Packages) สำหรับเด็กที่บ้านไม่มีไฟฟ้าใช้ เป็นต้น
ประการที่ 5 ใช้มาตรการทางสาธารณสุข และมาตรการทางสังคมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ในโรงเรียนที่เปิดการเรียนการสอน ในกรณีที่โรงเรียนสามารถจัดการสอนได้ หรือใช้การสอนแบบผสม ควรบังคับใช้มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดตาม “แนวทางปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (Covid-19)” ที่กำหนดโดยกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับองค์กร UNICEF อย่างเคร่งครัด เช่น ไม่ให้นักเรียน ครู หรือเจ้าหน้าที่ที่เจ็บป่วยมาโรงเรียน กำหนดให้มีการล้างมือด้วยสบู่เป็นประจำ และรณรงค์ส่งเสริมให้สวมใส่หน้ากากอนามัย เป็นต้น
ประการที่ 6 สื่อสารให้ผู้ปกครองทราบความจำเป็นของมาตรการเปิด-ปิดโรงเรียน รวมทั้งให้คู่มือสนับสนุนเด็กสำหรับการเรียนทางไกล โดยให้ผู้ปกครองทราบว่ารัฐบาลมีแนวทางการเปิด-ปิดโรงเรียน อย่างไร เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถประเมินสถานการณ์ในอนาคตได้ นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการควรจัดทำคู่มือสำหรับผู้ปกครองสำหรับสนับสนุนบุตรหลานในกรณีเรียนที่บ้าน เช่น วิธีการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลเพื่อเรียนออนไลน์ แนวทางแก้ปัญหาเบื้องต้น หรือ คู่มือการใช้สื่อการเรียนรู้ เป็นต้น
การเปิด-ปิดโรงเรียนเป็นเพียงมาตรการหนึ่งเพื่อตอบโจทย์ “การศึกษาต้องปรับตัวอย่างไรในช่วงสถานการณ์ โควิด-19” เพื่อให้เด็กกลับมาเรียนตามปกติให้ได้เร็วที่สุดเท่านั้น แต่จะทำอย่างไรให้เด็กสามารถเรียนได้อย่างต่อเนื่องในสถานการณ์ที่อาจต้องเรียนที่บ้านช่วงหนึ่ง แล้วสลับกลับมาเรียนตามปกติภายหลังสถานการณ์ระบาดลดความรุนแรงลง รวมทั้งระบบการศึกษาทั้งระบบจำเป็นต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับรูปแบบที่ซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะกระบวนการจัดการเรียนการสอน ซึ่งจะกล่าวถึงใน“


Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน . เนื่องจากการสำรวจพฤติกรรมการรับสื่อและทัศนคติต่อการรับชมโฆษณา-แคมเปญการตลาดของผู้บริโภคชาวไทยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ทางบริษัท นีลเส็น มีเดีย ประเทศไทย หนึ่งในบริษัทวิจัยสื่อ-การตลาดรายใหญ่ สามารถประมวลเป็นเทรนด์สำคัญที่จะส่งผลกับการสื่อสารและทำการตลาดของภาคธุรกิจในปี 2566 นี้ . พบว่า ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน และ 61% เลือกซื้อสินค้าที่เป็นสปอนเซอร์การแข่งขัน รวมถึง

มือใหม่ทำงานวิจัยต้องควรรู้

มือใหม่ทำงานวิจัยต้องควรรู้

Thesis Thailand ขอแนะนำ “ มือใหม่ทำงานวิจัยต้องควรรู้ ” . เนื่องจากการทำวิจัยหาความรู้ หรือการทำวิจัยพัฒนาสิ่งใด  มันมีกระบวนการขั้นตอนที่เกิดจากต้องวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อประมวลเป็นความรู้ และนำไปใช้เป็นหลักฐานเหตุผล ให้ได้ข้อสรุป “ด้วยตนเอง” เมื่อชำนาญแล้ว ค่อยขยับไปทำงานวิจัยที่ต้องการ “ค้นพบ” ความรู้ใหม่ หรือแนวทางใหม่ๆ . มือใหม่ทำงานวิจัยต้องควรรู้ คือ “ทำสิ่งใดด้วยกระบวนการวิจัย” ได้แก่

พฤติกรรมของผู้บริโภคที่อาจจะเปลี่ยนไปในยุคหลังโควิด

พฤติกรรมของผู้บริโภคที่อาจจะเปลี่ยนไปในยุคหลังโควิด

Thesis Thailand สำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคที่อาจจะเปลี่ยนไปในยุคหลังโควิด . เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคมีความเปลี่ยนแปลงสำคัญในยุคหลังโควิด-19 โดยส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและพฤติกรรมการบริโภคทั่วไป อาทิเช่น ผู้บริโภคที่ได้ลองซื้อของผ่านทางช่องทางออนไลน์ได้เกิดความเคยชินไปแล้ว หรือการให้ความสำคัญกับค่านิยม (Value) เพื่อให้ได้ใจลูกค้ากลุ่ม GenZ และ Millennials รวมถึงการใช้ Data เพื่อหา Insight ของผู้บริโภค และปรับกลยุทธ์การตลาดให้เหมาะสมตามอยู่เสมอ เป็นต้น นี่คือบางพฤติกรรมที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในยุคหลังโควิด: . . .

เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภค 2023 ควรทำอย่างไรให้ได้ใจลูกค้า

เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภค 2023 ควรทำอย่างไรให้ได้ใจลูกค้า

Thesis Thailand เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภค 2023 ควรทำอย่างไรให้ได้ใจลูกค้า . เนื่องจากการซื้อขายสินค้าอาจจะมีองค์ประกอบคร่าว ๆ เพียงแค่ แบรนด์ สินค้า และผู้บริโภค แต่ในโลกของธุรกิจจริง ๆ กลับมีความซับซ้อนและข้อมูลมากมาย รวมไปถึงคู่แข่งในแต่ละตลาด ดังนั้นผู้ที่เข้าใจตลาดก่อน ย่อมเดินนำไปก่อนหนึ่งก้าวเสมอ ทำให้ในบทความนี้เราจะมาส่องเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภค 2023 ซึ่งเป็นคำภีร์พื้นฐานที่สำคัญสำหรับแบรนด์ ในการพาสินค้าและบริการของตนเอง กระโดดเข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภค . มีการคาดการณ์ว่าพฤติกรรมผู้บริโภค