การศึกษาในยุค Covid-19

การศึกษาในยุค Covid-19
ไวรัส Covid-19 ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลก โดยเริ่มแพร่ระบาดตั้งแต่ปลายปี 2562 จนถึงปัจจุบัน แม้ว่าขณะนี้ทั่วโลกต่างเร่งมือทำการวิจัยค้นคว้าเพื่อผลิตวัคซีนป้องกันไวรัส Covid-19 แต่ดูเหมือนว่าจะใช้เวลานานพอสมควรเพื่อให้มั่นใจว่าวัคซีนที่ผลิตออกมานั้นปลอดภัยและไร้ผลข้างเคียง
ในช่วงเวลาที่ยังคิดค้นวัคซีนป้องกัน ไวรัส Covid-19 ได้ส่งผลกระทบต่อผู้คนอย่างมากมายและต่างก็ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของตัวเองเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานบริษัทที่ต้องเปลี่ยนสถานที่การทำงาน จากบริษัทมาเป็นทำงานที่บ้าน (Work from home) ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าต่างๆ ต้องปิดเป็นการชั่วคราวตามมาตรการเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อเปลี่ยนมาขายบนออนไลน์ บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาผู้ป่วยและมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ, แม่บ้านที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการซื้อหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ หรือแม้แต่นักเรียน นักศึกษา ที่ถูกเลื่อนการเปิดเทอม ส่งผลให้นักเรียนส่วนใหญ่เสียโอกาสในการเรียนรู้ ที่ร้ายแรงที่สุดนักเรียนกลุ่มนี้เสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษา ซึ่งจะก่อให้เกิดผลเสียต่อชีวิตเด็กในระยะยาว
เมื่อคุณครูและนักเรียนต้องทดลองการเรียนการสอนทางออนไลน์
ผลกระทบที่เกิดขึ้น
เด็กๆ หลายคนตื่นเต้นที่จะได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ แต่ทว่าเมื่อได้พิจารณาจากหลายๆ ด้านแล้ว พบว่ายังมีเด็กนักเรียนในหลายครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากการเรียนออนไลน์ และปัญหาที่ใหญ่สำหรับพวกเขาคือค่าใช้จ่ายที่มีเพิ่มมากขึ้น ทั้งค่าอุปกรณ์ในการเรียนออนไลน์ ค่าบริการอินเตอร์เน็ตรายเดือน ค่าไฟที่สูงขึ้น ยิ่งครอบครัวที่มีลูกในวัยเรียนมากกว่า 1 คน ก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกหน้าที่ที่เพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัวของคุณครู…เราอาจจะได้เห็นผ่านสื่อโซเชียลที่เล่าเรื่องราวของคุณครูลงพื้นที่ไปเยี่ยมเยียนนักเรียนเพื่อสอบถามความเป็นอยู่ของเด็กๆ กลุ่มคุณครูจากจังหวัดอุทัยธานีที่รวมตัวกันก่อตั้ง “Grab แม่ครู” ลงพื้นที่ติดตามความเป็นอยู่ของนักเรียน และจัดส่งอาหารที่พร้อมด้วยคุณค่าทางโภชนาการให้กับเด็กๆ คุณครูที่จังหวัดอุตรดิตถ์ลงพื้นที่พบปะ ส่งสมุดการบ้านและตรวจแบบฝึกหัดให้นักเรียน และพูดคุยกับผู้ปกครองถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ในต่างประเทศก็เช่นเดียวกัน อย่างประเทศอเมริกา เด็กนักเรียนทุกคนต้องหยุดอยู่บ้าน ยิ่งทำให้นักเรียนในครอบครัวยากจนได้รับผลกระทบเรื่องค่าใช้จ่ายอาหารกลางวัน ทำให้คุณครูจากโรงเรียนหลายแห่งต้องร่วมมือร่วมใจกันหอบหิ้วและเดินสายนำอาหารไปให้นักเรียนถึงบ้าน หรือแม้แต่คุณครูที่ยอมเดินเท้าหลายกิโลเพื่อมาอธิบายการบ้านให้นักเรียนฟังถึงบ้าน เพราะนักเรียนไม่เข้าใจเนื้อหาจากการเรียนออนไลน์ สำหรับประเทศเพื่อนบ้านของเรา อย่างประเทศกัมพูชาคุณครูได้ออกลุยเดินทางไปสอนหนังสือที่บ้านของนักเรียนหลังโรงเรียนปิดเพราะลูกศิษย์ไม่มีอินเตอร์เน็ต หรือแม้แต่ทีวีเพื่อใช้เรียน
การเรียนออนไลน์นั้น มีข้อจำกัดเรื่องความพร้อมส่วนบุคคลมากมาย โดยเฉพาะเด็กในครอบครัวที่มีฐานะยากจนเสียเปรียบ เพราะไม่มีอุปกรณ์ดิจิทัลที่บ้าน จากข้อมูลของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) บ่งชี้ว่า สัดส่วนของครัวเรือนที่มีคอมพิวเตอร์ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของประเทศพัฒนาแล้ว นอกจากนี้ การสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติยังสะท้อนให้เห็นความเหลื่อมล้ำสูงในการเข้าถึงอุปกรณ์ดิจิทัล โดยเฉพาะครัวเรือนที่มีฐานะยากจนและครัวเรือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ ในการเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เด็กจำเป็นต้องได้รับการเอาใจใส่ การเรียนที่บ้านจึงเป็นการผลักภาระให้ผู้ปกครอง อาจทำให้เหลื่อมล้ำทางการศึกษาเพิ่มมากขึ้น หากผู้ปกครองไม่มีความพร้อมในการช่วยเหลือบุตรหลานของตนในการเรียน ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีนักเรียนกว่า 8 หมื่นคน อยู่ในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง รวมไปถึงโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลางในต่างจังหวัด ที่คุณครูก็ยังไม่มีความคุ้นชินกับโปรแกรมต่างๆ รวมถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ไม่ดีนัก เพราะประเทศไทยยังมีข้อจำกัดในการเรียนทางไกลหรือเรียนออนไลน์ค่อนข้างสูง
อย่างไรก็ตามการเรียนออนไลน์ไม่ใช่เรื่องใหม่ โดยเริ่มต้นจากสถาบันกวดวิชาต่างๆ ให้ผู้ที่ไม่มีเวลาเดินทาง สามารถเรียนผ่านออนไลน์ที่เป็นคลิปวิดีโอในเว็บไซต์ได้ จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคม หากแต่ในช่วงวิกฤตนี้ การเรียนออนไลน์กลายมาเป็นค่านิยมในการเรียนรูปแบบใหม่ เพราะปัจจุบันในโลกออนไลน์นั้น สามารถเรียนรู้ร่วมกันได้ ถ้ามีเวลาก็สามารถศึกษาด้วยตนเอง รวมทั้งเลือกสิ่งที่จะเรียนและเวลาเรียนได้อีกด้วย

การเรียนออนไลน์จะเข้ามาทดแทนการเรียนที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยได้จริงหรือไม่ เพราะปัจจุบันยังไม่มีใครรับประกันว่าโควิด-19 จะหยุดลงเมื่อไร ในสถานการณ์เช่นนี้ การเรียนออนไลน์ยังคงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ก็ยังมีผลกระทบที่ตามมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสัญญาณอินเทอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล การเข้าถึงอุปกรณ์การเรียนต่างๆ ของผู้มีรายได้น้อยอีกด้วย
เรื่อง : ศิริพรรณ รัตนะอำพร
ข้อมูลบางส่วน : http://accesstrade.in.th/

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน . เนื่องจากการสำรวจพฤติกรรมการรับสื่อและทัศนคติต่อการรับชมโฆษณา-แคมเปญการตลาดของผู้บริโภคชาวไทยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ทางบริษัท นีลเส็น มีเดีย ประเทศไทย หนึ่งในบริษัทวิจัยสื่อ-การตลาดรายใหญ่ สามารถประมวลเป็นเทรนด์สำคัญที่จะส่งผลกับการสื่อสารและทำการตลาดของภาคธุรกิจในปี 2566 นี้ . พบว่า ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน และ 61% เลือกซื้อสินค้าที่เป็นสปอนเซอร์การแข่งขัน รวมถึง

มือใหม่ทำงานวิจัยต้องควรรู้

มือใหม่ทำงานวิจัยต้องควรรู้

Thesis Thailand ขอแนะนำ “ มือใหม่ทำงานวิจัยต้องควรรู้ ” . เนื่องจากการทำวิจัยหาความรู้ หรือการทำวิจัยพัฒนาสิ่งใด  มันมีกระบวนการขั้นตอนที่เกิดจากต้องวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อประมวลเป็นความรู้ และนำไปใช้เป็นหลักฐานเหตุผล ให้ได้ข้อสรุป “ด้วยตนเอง” เมื่อชำนาญแล้ว ค่อยขยับไปทำงานวิจัยที่ต้องการ “ค้นพบ” ความรู้ใหม่ หรือแนวทางใหม่ๆ . มือใหม่ทำงานวิจัยต้องควรรู้ คือ “ทำสิ่งใดด้วยกระบวนการวิจัย” ได้แก่

พฤติกรรมของผู้บริโภคที่อาจจะเปลี่ยนไปในยุคหลังโควิด

พฤติกรรมของผู้บริโภคที่อาจจะเปลี่ยนไปในยุคหลังโควิด

Thesis Thailand สำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคที่อาจจะเปลี่ยนไปในยุคหลังโควิด . เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคมีความเปลี่ยนแปลงสำคัญในยุคหลังโควิด-19 โดยส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและพฤติกรรมการบริโภคทั่วไป อาทิเช่น ผู้บริโภคที่ได้ลองซื้อของผ่านทางช่องทางออนไลน์ได้เกิดความเคยชินไปแล้ว หรือการให้ความสำคัญกับค่านิยม (Value) เพื่อให้ได้ใจลูกค้ากลุ่ม GenZ และ Millennials รวมถึงการใช้ Data เพื่อหา Insight ของผู้บริโภค และปรับกลยุทธ์การตลาดให้เหมาะสมตามอยู่เสมอ เป็นต้น นี่คือบางพฤติกรรมที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในยุคหลังโควิด: . . .

เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภค 2023 ควรทำอย่างไรให้ได้ใจลูกค้า

เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภค 2023 ควรทำอย่างไรให้ได้ใจลูกค้า

Thesis Thailand เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภค 2023 ควรทำอย่างไรให้ได้ใจลูกค้า . เนื่องจากการซื้อขายสินค้าอาจจะมีองค์ประกอบคร่าว ๆ เพียงแค่ แบรนด์ สินค้า และผู้บริโภค แต่ในโลกของธุรกิจจริง ๆ กลับมีความซับซ้อนและข้อมูลมากมาย รวมไปถึงคู่แข่งในแต่ละตลาด ดังนั้นผู้ที่เข้าใจตลาดก่อน ย่อมเดินนำไปก่อนหนึ่งก้าวเสมอ ทำให้ในบทความนี้เราจะมาส่องเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภค 2023 ซึ่งเป็นคำภีร์พื้นฐานที่สำคัญสำหรับแบรนด์ ในการพาสินค้าและบริการของตนเอง กระโดดเข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภค . มีการคาดการณ์ว่าพฤติกรรมผู้บริโภค