รับวิจัยตลาด ราคากันเอง บริการแจกแบบสอบถาม

รับวิจัยตลาด ราคากันเอง บริการแจกแบบสอบถาม รวบรวมและประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล อาจทำลักษณะแจกแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ หรือการสำรวจ
แผนการตลาด วิจัยตลาด marketing research
ทำไมต้องทำวิจัยตลาด?

    บริษัทชั้นนำต่างๆ ให้ความสำคัญกับแผนก Research & Develop (R&D) เพื่อวิจัยกลุ่มผู้บริโภค ซึ่งมีพฤติกรรม หรือความชอบที่เปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่างๆโดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลงสินค้าและบริการ ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด

วิจัยตลาด marketing research
การวิจัยตลาด (Market Research)

    เป็นการรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นระบบ อันเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย ทางการตลาดที่เฉพาะเจาะจง คู่แข่ง และ/หรือสภาพแวดล้อม ซึ่งมักจะเป็นการรวบรวม ข้อมูลในบางรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการวิจัยขั้นทุติยภูมิ (Secondary Researchหรือที่ มักเรียกว่าการวิจัยบนโต๊ะ Desk Research ) หรือการวิจัยขั้นปฐมภูมิ (Primary Research) ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลโดยตรงจากผู้ตอบคำถาม

    จุดประสงค์ของโครงการวิจัยตลาดใดๆก็คือ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องที่ทำการศึกษาให้มากขึ้น จากภาวะการแข่งขันที่เข้มข้น ขึ้นทั่วทุกมุมโลก ปัจจุบันการวิจัยตลาดจึงอยู่ในระเบียบวาระในหลายๆองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตามจนการออกแบบสินค้าหรือบริการ

การวิจัยตลาดของทีมงาน ดีบีฟอบิสเนส ในด้านการวิจัยตลาด มีดังนี้
บริการจัดทำแบบสอบถามทั้งภาษาไทย อังกฤษ เกาหลี ญี่ปุ่น จีน และอื่นๆ
บริการแจกแบบสอบถาม และรวบรวมข้อมูล
บริการลงสำรวจพื้นที่ พร้อมทำรายงานความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจต่างๆ
ขั้นตอนวิธีการวิจัยมีดังนี้
วิจัยตลาด marketing research

ขั้นปัญหา (Problem) เป็นการกำหนดชี้วัดลงไปว่ามีปัญหาที่แท้จริงคืออะไร
ขั้นตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis) เป็นการคาดคะเนคำตอบที่คิดว่าน่าจะเป็นอย่างมีเหตุผล ก่อนที่จะตรวจสอบคำตอบที่แท้จริง ของคำตอบนั้นๆ
ขั้นรวบรวมข้อมูล (Collecting data) เป็นการศึกษา ค้นหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา เพื่อนำมาวิเคราะห์ต่อไป
ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis) เป็นการจัดกระทำกับข้อมูลที่รวบรวมมาได้โดยวิธีการทางสถิติหรือตรรกศาสตร์ เพื่อตรวจสอบว่า สมมุติฐานที่ตั้งไว้เป็นจริงหรือไม่
ขั้นสรุป (Conclusion) เป็นการสรุปผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลว่าข้อเท็จจริงของปัญหานั้นคืออะไร
วัตถุประสงค์ของการวิจัยตลาด
เพื่อทำการวิจัยตลาด เหล่าองค์กรอาจตัดสินใจทำโครงการวิจัยด้วยตนเอง ( บางองค์กรอาจใช้ฝ่ายการวิจัยตลาด) หรืออาจใช้บริการ บริษัทหรือที่ปรึกษาด้านการวิจัยตลาด ไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ตาม จำเป็นต้องมีการกำหนดเป้าหมายของการวิจัยใดๆก่อนที่จะทำการวิจัย ยกตัวอย่างเช่น ต้องการเรียนรู้อะไรจากการวิจัยและจำเป็นต้องรู้อะไรบ้าง

    หลังจากที่พิจารณาเรื่องของวัตถุประสงค์ การวิจัยตลาดสามารถนำเทคนิคและวิธีการวิจัยหลายๆแบบมาใช้เพื่อให้ได้้ข้อมูลที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลแบบเชิงข้อมูลปริมาณ (Quantitative information) และเชิงข้อมูลคุณภาพ (qualitative information) ซึ่งการนำแต่ละวิธีมาใช้จะขึ้นอยู่กับเป้าหมายของการวิจัย แต่ส่วนมากเชื่อว่าจะได้ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์สูงสุดหากรวมสองวิธีนี้เข้าด้วยกัน

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)
วิจัยตลาด marketing research

    การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยเชิงตัวเลขที่มุ่งเน้นความสนใจไปที่การวัดปรากฏการณ์ทางการตลาดและมักจะเกี่ยวเนื่องกับ การวิเคราะห์ทางสถิติ ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารหนึ่งๆอาจขอให้ลูกค้าทำการให้คะแนนการบริการของธนาคารว่ายอดเยี่ยม ดี แย่หรือแย่มาก เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลเชิงปริมาณที่สามารถวิเคราะห์ออกมาในเชิงสถิติได้ ข้อสำคัญของการวิจัยเชิงปริมาณคือผู้ตอบคำถามทุกๆคน จะต้องได้รับคำถามชุดเดียวกัน วิธีการนี้เป็นแบบแผนอย่างมากและมักจะเกี่ยวข้องกับผู้ถูกสัมภาษณ์หรือผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมาก

    บางทีเทคนิคเชิงปริมาณที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายที่สุดคือ “การสำรวจวิจัยทางการตลาด” (market research survey) โครงการเหล่านี้เป็นโครงการพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลจากหลายๆรูปแบบ เช่น ลูกค้าหรือกลุ่มผลิตภัณฑ์ การสำรวจเชิง ปริมาณสามารถทำได้โดยการส่งทางไปรษณีย์ (ตอบแบบสอบถามด้วยตนเองหรือ self-completion) แบบตัวต่อตัว (ตามถนนหรือที่บ้าน) ทางโทรศัพท์ อีเมล์หรือเทคนิคเวปไซด์ แบบสอบถามเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการรวบรวมข้อมูลจาก การสำรวจ แต่ก็เป็นเพียงหนึ่งในเครื่องมืออันหลากหลายที่ใช้สำหรับการรวบรวมข้อมูล

การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
วิจัยตลาด marketing research

    การวิจัยเชิงคุณภาพช่วยให้เกิดความเข้าใจว่าสิ่งต่างๆเป็นเช่นนั้นได้อย่างไรหรือเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เช่น ผู้ทำการวิจัยทางการตลาด อาจหยุดถามลูกค้าที่ซื้อขนมปังชนิดหนึ่งและถามว่าทำไมถึงเลือกซื้อขนมปังชนิดนั้นๆ ซึ่งไม่เหมือนการวิจัยเชิงปริมาณ เพราะการวิจัยเชิง คุณภาพไม่มีคำถามตายตัว หากมีเพียงแค่แนวทางหัวข้อ (หรือแนวทางการอภิปราย) ที่ใช้ในการสำรวจหัวข้อต่างๆแบบเจาะลึก โดย ส่วนใหญ่การสนทนาระหว่างผู้สัมภาษณ์ (หรือผู้ดำเนินการ/ Moderator) กับผู้ถูกสัมภาษณ์จะดำเนินไปตามความคิดและความรู้สึกของ ผู้ตอบคำถาม

    เช่นเดียวกันกับเทคนิคเชิงปริมาณ ระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ (qualitative methodology) ก็มีอยู่หลากหลายเช่นกัน การวิจัยในรูปแบบนี้ ส่วนมากนิยมทำกันแบบตัวต่อตัว (face-to-face) และหนึ่งในเทคนิคที่รู้จักกันแพร่หลายคือ การอภิปรายกลุ่มการวิจัยตลาด (market research group discussions) (หรือเฉพาะกลุ่ม) ซึ่งมักจะประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมาย 6-8 คนกับผู้ทำการวิจัยซึ่งมีหน้าที่ที่ต้องถามคำถาม และดึงเอาคำตอบออกมา กระตุ้นให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สังเกตปฏิกิริยา และทำการบันทึกภาพหรือเสียง

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน . เนื่องจากการสำรวจพฤติกรรมการรับสื่อและทัศนคติต่อการรับชมโฆษณา-แคมเปญการตลาดของผู้บริโภคชาวไทยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ทางบริษัท นีลเส็น มีเดีย ประเทศไทย หนึ่งในบริษัทวิจัยสื่อ-การตลาดรายใหญ่ สามารถประมวลเป็นเทรนด์สำคัญที่จะส่งผลกับการสื่อสารและทำการตลาดของภาคธุรกิจในปี 2566 นี้ . พบว่า ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน และ 61% เลือกซื้อสินค้าที่เป็นสปอนเซอร์การแข่งขัน รวมถึง

มือใหม่ทำงานวิจัยต้องควรรู้

มือใหม่ทำงานวิจัยต้องควรรู้

Thesis Thailand ขอแนะนำ “ มือใหม่ทำงานวิจัยต้องควรรู้ ” . เนื่องจากการทำวิจัยหาความรู้ หรือการทำวิจัยพัฒนาสิ่งใด  มันมีกระบวนการขั้นตอนที่เกิดจากต้องวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อประมวลเป็นความรู้ และนำไปใช้เป็นหลักฐานเหตุผล ให้ได้ข้อสรุป “ด้วยตนเอง” เมื่อชำนาญแล้ว ค่อยขยับไปทำงานวิจัยที่ต้องการ “ค้นพบ” ความรู้ใหม่ หรือแนวทางใหม่ๆ . มือใหม่ทำงานวิจัยต้องควรรู้ คือ “ทำสิ่งใดด้วยกระบวนการวิจัย” ได้แก่

พฤติกรรมของผู้บริโภคที่อาจจะเปลี่ยนไปในยุคหลังโควิด

พฤติกรรมของผู้บริโภคที่อาจจะเปลี่ยนไปในยุคหลังโควิด

Thesis Thailand สำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคที่อาจจะเปลี่ยนไปในยุคหลังโควิด . เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคมีความเปลี่ยนแปลงสำคัญในยุคหลังโควิด-19 โดยส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและพฤติกรรมการบริโภคทั่วไป อาทิเช่น ผู้บริโภคที่ได้ลองซื้อของผ่านทางช่องทางออนไลน์ได้เกิดความเคยชินไปแล้ว หรือการให้ความสำคัญกับค่านิยม (Value) เพื่อให้ได้ใจลูกค้ากลุ่ม GenZ และ Millennials รวมถึงการใช้ Data เพื่อหา Insight ของผู้บริโภค และปรับกลยุทธ์การตลาดให้เหมาะสมตามอยู่เสมอ เป็นต้น นี่คือบางพฤติกรรมที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในยุคหลังโควิด: . . .

เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภค 2023 ควรทำอย่างไรให้ได้ใจลูกค้า

เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภค 2023 ควรทำอย่างไรให้ได้ใจลูกค้า

Thesis Thailand เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภค 2023 ควรทำอย่างไรให้ได้ใจลูกค้า . เนื่องจากการซื้อขายสินค้าอาจจะมีองค์ประกอบคร่าว ๆ เพียงแค่ แบรนด์ สินค้า และผู้บริโภค แต่ในโลกของธุรกิจจริง ๆ กลับมีความซับซ้อนและข้อมูลมากมาย รวมไปถึงคู่แข่งในแต่ละตลาด ดังนั้นผู้ที่เข้าใจตลาดก่อน ย่อมเดินนำไปก่อนหนึ่งก้าวเสมอ ทำให้ในบทความนี้เราจะมาส่องเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภค 2023 ซึ่งเป็นคำภีร์พื้นฐานที่สำคัญสำหรับแบรนด์ ในการพาสินค้าและบริการของตนเอง กระโดดเข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภค . มีการคาดการณ์ว่าพฤติกรรมผู้บริโภค