สถิติพื้นฐานที่ใช้ในงานวิจัย

สถิติมี 2 ประเภท คือ

1. สถิติพรรณนา (Descriptive statistics) เป็นสถิติที่ใช้ในการสรุปข้อมูลที่ได้มาจากกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่มีการอ้างอิงไปยังประชากร แต่เป็นการบรรยายลักษณะข้อมูลเท่านั้น เช่น การแจกแจงความถี่ (frequency distribution) การวัดแนวโน้มเข้าสู้ส่วนกลาง การวัดการกระจายของข้อมูล ฯลฯ การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลพรรณนาจะอยู่ในรูปตาราง (table) และแผนภูมิ (Chart) ชนิดต่างๆ

2. สถิติอ้างอิง (Inferential statistics) หรือสถิติอนุมาน เป็นสถิติที่ใช้เพื่อนำผลสรุปที่คำนวณได้จากการสุ่มตัวอย่าง ไปอธิบายหรือสรุปลักษณะของประชากรทั้งหมด วิธีที่ใช้ในการสรุปอ้างอิงไปยังกลุ่มประชากรนั้น คือ การประมาณค่า (Estimation) และการทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis testing) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (analysis of variance) การวิเคราะห์ความถดถอยและสหสัมพันธ์ (regression and correlation analysis)

สถิติอ้างอิงจำแนกเป็น 2 ชนิดคือ

แบบอ้างอิงพารามิเตอร์ (Parametric statistics) (ทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติ t-test, z-test, ANOVA, regression analysis ตัวแปรที่ต้องการวัดเป็น interval scale กลุ่มตัวอย่างจะต้องมีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ กลุ่มประชากรจะต้องมีความแปรปรวนเท่ากัน)

และแบบไม่อ้างอิงพารามิเตอร์ (Nonparametric statistics) (ใช้สถิติ chi-square, medium test, sign test กลุ่มตัวอย่างเป็น free distribution เป็นกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก ไม่ทราบลักษณะการแจกแจงของประชากรที่สนใจจะศึกษา)

พารามิเตอร์ หมายถึง ค่าที่ใช้อธิบายคุณลักษณะประชากร (Population) เช่น ค่าเฉลี่ยของประชากร (population mean)

ค่าสถิติ หมายถึง ค่าที่ได้จากตัวอย่าง (sample) เช่น ค่าเฉลี่ยของตัวอย่าง (sample mean)

ลักษณะข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัย

– ข้อมูลเชิงปริมาณ แบ่งเป็นข้อมูลต่อเนื่อง (continuous data) คือค่าที่มีจุดทศนิยมได้ และข้อมูลไม่ต่อเนื่อง (discrete data) คือค่าที่เป็นจำนวนเต็มหรือจำนวนนับ

– ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่แสดงถึงสถานภาพ คุณลักษณะ หรือคุณสมบัติ เช่น เพศ ตำแหน่งหรือจำแนกตัวแปรตามระดับการวัด ได้แก่

– นามบัญญัติ (nominal scale) จำแนกความแตกต่างของสิ่งที่ต้องการวัดออกเป็นกลุ่ม เช่น 1=ชาย 2=หญิง ตัวเลขไม่สามารถนำมาบวก ลบ คูณ หาร ได้

– เรียงอันดับ (ordinal scale) ใช้สำหรับจัดอันดับที่หรือตำแหน่งของสิ่งที่ต้องการวัด เช่น ระดับการศึกษา ผลการเรียน ความเก่ง ตัวเลขอันดับที่แตกต่างกันไม่สามารถบ่งบอกถึงปริมาณความแตกต่างได้ เช่น ไม่สามารถบอกได้ว่าเก่งกว่ากันเท่าไหร่ ตัวเลขสามารถนำมาบวกหรือลบกันได้

– อันตรภาค หรือระดับช่วง (interval scale) กำหนดค่าตัวเลขโดยมีช่วงห่างระหว่างตัวเลขเท่าๆ กัน สามารถนำตัวเลขมาเปรียบเทียบกันได้ว่าว่ามีปริมาณมากน้อยเท่าใด แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นกี่เท่าของกันและกัน เพราะไม่มีศูนย์ที่แท้จริง เช่น คะแนนสอบ อุณหภูมิ (อุณหภูมิ 0 องศา มิได้หมายความว่าจะไม่มีความร้อน) ตัวเลขสามารถนำมาบวก ลบ คูณ หรือหารกันได้

– อัตราส่วน (ratio scale) สามารถกำหนดค่าตัวเลขให้กับสิ่งที่ต้องการวัด มีศูนย์แท้ เช่น น้ำหนัก ความสูง อายุ สามารถนำตัวเลขมาบวก ลบ คูณ หาร หรือหาอัตราส่วนกันได้ (เช่น ถนน 50 กิโลเมตร ยาวเป็น 2 เท่าของถนน 25 กิโลเมตร)

หรือจำแนกตามหน้าที่ ได้แก่ ตัวแปรอิสระ (ตัวแปรต้น) และตัวแปรตาม ซึ่งเป็นตัวแปรที่ต้องการศึกษา นอกจากนั้นอาจมีตัวแปรที่ไม่ได้ต้องการศึกษาแต่ต้องควบคุม เช่น ตัวแปรภายนอก (ตัวแปรเกิน หรือตัวแปรแทรกซ้อน) และตัวแปรเชื่อมโยง (ตัวแปรสอดแทรก)

สถิติพรรณนาที่ใช้อธิบายข้อมูลเชิงปริมาณ

– การแจกแจงข้อมูล ความถี่ (Frequency distribution) ร้อยละ (percentage)

– วัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (mean) นำข้อมูลทั้งหมดมารวมกันแล้วหารด้วยจำนวนข้อมูล / มัธยฐาน (median) เป็นสถิติในการจัดอันดับข้อมูล เป็นค่าที่อยู่ตรงกลาง เมื่อนำค่าที่ได้จากการวัดที่นำมาเรียงลำดับจากมากไปน้อย หรือน้อยไปมาก / ฐานนิยม (mode) หรือคะแนนที่มีความถี่สูงที่สุด

– บอกตำแหน่งของข้อมูล ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ไทล์ (percentile) เดไซล์ (decide) ควอไทล์ (quartile)

– วัดการกระจายของข้อมูล ได้แก่ พิสัย (range) หรือค่าสูงสุด-ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ (quartile deviation) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ความแปรปรวนของข้อมูล (variance)

สถิติพรรณนาที่ใช้อธิบายข้อมูลเชิงคุณภาพ

ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) สัดส่วน (proportion) อัตราส่วน (ratio) ฐานนิยม (mode)

สถิติพรรณนาที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเชิงปริมาณ

– สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงเส้นของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient)

– สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน (Spearman’s correlation coefficient)

สถิติพรรณนาที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเชิงคุณภาพ

– สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเครเมอร์วี (Cramer’s V)

– สร้างตารางไขว้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (crosstabulation table)

ที่มา : สถิติพื้นฐานที่ใช้ในงานวิจัย

Share:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on pinterest
Pinterest
Share on linkedin
LinkedIn

ขอคำปรึกษา

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย

Table of Contents

On Key

Related Posts

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน

รู้หรือไม่ ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน . เนื่องจากการสำรวจพฤติกรรมการรับสื่อและทัศนคติต่อการรับชมโฆษณา-แคมเปญการตลาดของผู้บริโภคชาวไทยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ทางบริษัท นีลเส็น มีเดีย ประเทศไทย หนึ่งในบริษัทวิจัยสื่อ-การตลาดรายใหญ่ สามารถประมวลเป็นเทรนด์สำคัญที่จะส่งผลกับการสื่อสารและทำการตลาดของภาคธุรกิจในปี 2566 นี้ . พบว่า ผู้บริโภค 85% เชื่อถือโฆษณาในรูปแบบสปอนเซอร์ทีม-การแข่งขัน และ 61% เลือกซื้อสินค้าที่เป็นสปอนเซอร์การแข่งขัน รวมถึง

มือใหม่ทำงานวิจัยต้องควรรู้

มือใหม่ทำงานวิจัยต้องควรรู้

Thesis Thailand ขอแนะนำ “ มือใหม่ทำงานวิจัยต้องควรรู้ ” . เนื่องจากการทำวิจัยหาความรู้ หรือการทำวิจัยพัฒนาสิ่งใด  มันมีกระบวนการขั้นตอนที่เกิดจากต้องวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อประมวลเป็นความรู้ และนำไปใช้เป็นหลักฐานเหตุผล ให้ได้ข้อสรุป “ด้วยตนเอง” เมื่อชำนาญแล้ว ค่อยขยับไปทำงานวิจัยที่ต้องการ “ค้นพบ” ความรู้ใหม่ หรือแนวทางใหม่ๆ . มือใหม่ทำงานวิจัยต้องควรรู้ คือ “ทำสิ่งใดด้วยกระบวนการวิจัย” ได้แก่

พฤติกรรมของผู้บริโภคที่อาจจะเปลี่ยนไปในยุคหลังโควิด

พฤติกรรมของผู้บริโภคที่อาจจะเปลี่ยนไปในยุคหลังโควิด

Thesis Thailand สำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคที่อาจจะเปลี่ยนไปในยุคหลังโควิด . เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคมีความเปลี่ยนแปลงสำคัญในยุคหลังโควิด-19 โดยส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและพฤติกรรมการบริโภคทั่วไป อาทิเช่น ผู้บริโภคที่ได้ลองซื้อของผ่านทางช่องทางออนไลน์ได้เกิดความเคยชินไปแล้ว หรือการให้ความสำคัญกับค่านิยม (Value) เพื่อให้ได้ใจลูกค้ากลุ่ม GenZ และ Millennials รวมถึงการใช้ Data เพื่อหา Insight ของผู้บริโภค และปรับกลยุทธ์การตลาดให้เหมาะสมตามอยู่เสมอ เป็นต้น นี่คือบางพฤติกรรมที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในยุคหลังโควิด: . . .

เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภค 2023 ควรทำอย่างไรให้ได้ใจลูกค้า

เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภค 2023 ควรทำอย่างไรให้ได้ใจลูกค้า

Thesis Thailand เจาะลึกพฤติกรรมผู้บริโภค 2023 ควรทำอย่างไรให้ได้ใจลูกค้า . เนื่องจากการซื้อขายสินค้าอาจจะมีองค์ประกอบคร่าว ๆ เพียงแค่ แบรนด์ สินค้า และผู้บริโภค แต่ในโลกของธุรกิจจริง ๆ กลับมีความซับซ้อนและข้อมูลมากมาย รวมไปถึงคู่แข่งในแต่ละตลาด ดังนั้นผู้ที่เข้าใจตลาดก่อน ย่อมเดินนำไปก่อนหนึ่งก้าวเสมอ ทำให้ในบทความนี้เราจะมาส่องเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภค 2023 ซึ่งเป็นคำภีร์พื้นฐานที่สำคัญสำหรับแบรนด์ ในการพาสินค้าและบริการของตนเอง กระโดดเข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภค . มีการคาดการณ์ว่าพฤติกรรมผู้บริโภค